เมนู

อภิสมยัมตรายกราปัญหา ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณยิ่งบัณฑิตอุดมโลกธีรชาติ โย โกจิ คีหิ คฤหัสถ์ฆราวาสทั้งปวง
ในโลกนี้ คฤหัสถ์ผู้ใดผู้หนึ่งถึงซึ่งภาวะเป็นปาราชิกแล้วบวชเข้าในบวรพุทธศาสนาอีก ที่สัตย์
ที่จริงนั้นจะรู้ตัวว่าเป็นปาราชิกก็หามิได้ ผู้หนึ่งผู้ใดก็มิได้ล่วงเห็นว่าเป็นปาราชิก มิได้ให้สติ
ตักเตือนทัดทานบอกกล่าวว่าท่านเป็นปาราชิกท่านกระทำผิดสิ่งนี้ และคฤหัสถ์ที่เป็นปาราชิกนั้น
ก็สำคัญว่าบริสุทธิ์เป็นอันดี กระทำความหมั่นมักภักดีอุตส่าห์ปฏิบัติ เพื่อจะให้ตรัสรู้ซึ่งธรรมา-
ภิสมัยมรรคผลอันควรจะรู้นั้น ตกว่าคฤหัสถ์ที่เป็นปาราชิกนั้นจะสำเร็จแก่ธรรมาภิสมัยมรรคผล
หรือ หรือว่าหามิได้
พระนาคเสนวิสัชนาว่า น หิ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร คฤหัสถ์
ที่ตั้งอยู่ในปาราชิก ฐานเป็นปาราชิกนั้น ถึงว่าจะปฏิบัติไป จะได้สำเร็จซึ่งธรรมาภิสมัยมรรค
ผลหามิได้ ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสซักไซ้ว่า เหตุไฉนจึงเป็นกระนั้น
พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่าดังนี้ว่า โย ตสฺส ธมฺมาภิสมยาย ขอถวายพระพร อัน
ว่าธรรมาภิสมัยมรรคผลหนทางพระโลกุดร ย่อมบังเกิดถาวรแก่บุคคลอันมีศีลบริสุทธิ์ เมื่อเป็น
ปาราชิกแล้วมีศีลอันขาดสิ้นแล้ว ธรรมาภิสมัยก็คลาดแคล้วไปไม่บังเกิดแก่ผู้เป็นปาราชิกนั้น
นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชาญาณ โยมเห็นว่าคนซึ่งเป็นปาราชิกนั้น รู้ว่าตัวเป็นปาราชิกแล้วก็ยังเกิดสงสัยว่า
อาตมาเป็นปาราชิก ที่ไหนอาตมาจะได้สำเร็จแก่ธรรมาภิสมัย คนผู้นั้นสงสัยอยู่ฉะนี้จึงจะมิได้
มรรคผล นี่คนที่เป็นปาราชิกนั้นเขาไม่รู้ตัวว่าเป็นปาราชิก ไม่สงสัย บาปธรรมสิ่งไรจะกันไว้
มิให้ได้มรรคผลนั้น ปัญหานี้ผู้เป็นเจ้า โยมนี้เห็นไม่สมด้วยลักษณะ จะไม่ได้ธรรมาภิสมัยมรรค
ผลก็ต่อเมื่อมีความสงสัย นี่เขาเป็นปาราชิกแล แต่ทว่าเขาไม่รู้ตัวเขาไม่สงสัย เหตุไฉนจึงไม่
ได้ธรรมาภิสมัยมรรคผล นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบ
เหมือนพืชอันบุคคลหว่านลงในนาอันดี พืชที่หว่านนั้นจะงอกหรือ หรือว่าหามิได้

พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้ปรีชา อาม เออกระนั้นซิ พืชหว่านลงที่เนื้อนาดีแล้วคงจะงอกซิ พระผู้เป็นเจ้า
เถโร อาห ฝ่ายพระนาคเสนเถระผู้เลิศอรหันต์ จึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร
พรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐเลิศกว่าฝูงประชา นุโข ดังอาตมาขอถามพระราชสมภาร
อีกสถานหนึ่ง ยังมีบุคคลผู้หนึ่งเอาพืชชนิดที่หว่านในเนื้อนาอันดีนั้น ไปหว่านลงบนศิลาอัน
แน่นเป็นแท่งเดียว พืชที่เขาหว่านลงบนศิลานั้นจะงอกงามหรือประการใด
สมเด็จพระบรมหน่อนรินทร์มิลินท์เลิศกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต
ไม่เช่นนั้นพระผู้เป็นเจ้า พืชที่คนหว่านบนศิลานั้น จะเอาสถานใดตั้งรากให้มั่นคงได้เล่า จึงจะ
งอกงามขึ้น พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พืชที่หว่านนั้น
ก็พันธุ์เดียวกันไฉนหว่านลงในเนื้อนาจึงงอกงามขึ้นมา ครั้นหว่านลงบนศิลาสิหาขึ้นไม่ เป็นไฉน
รูปสงสัยนัก เนื้อนากับแผ่นศิลานี้ทำไมไม่เหมือนกันเล่า
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ศิลา
กับดินจะเหมือนกันหามิได้ นาเป็นสถานอันบุคคลถากไถทั้งประกอบไปด้วยดินอันชุ่มชื้น หว่าน
พืชลง พืชจึงงอกงาม ส่วนศิลานั้นแข็งกระด้าง ไม่เป็นสถานอันน้ำพึงแทรกซึมเข้าไปได้ หว่าน
พืชลงไปจะให้พืชงอกงามขึ้นมานั้น เอาธรรมเนียมที่ไหนมา พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ข้อความ
อันนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด บุคคลที่มีศีลผ่องใสบริสุทธิ์นั้นเปรียบเหมือนเนื้อนาอันดีย่อมเป็นที่
งอกงามเจริญขึ้นแห่งพืช กล่าวคือพระธรรมาภิสมัย บุคคลผู้ทุศีลเหตุปาราชิกนั้นเปรียบ
เสมือนหนึ่งว่าแผ่นศิลา ย่อมไม่เป็นสถานที่อันพืชกล่าวคือธรรมาภิสมัยจะเกิดงอกงามเจริญขึ้น
ได้เป็นอันขาด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อีกประการหนึ่งเปรียบปานดุจ
ไม้ค้อนก้อนดินและท่อนไม้เมื่อบุคคลโยนไปปาไปนั้น ก็ย่อมจะตกลงเหนือแผ่นดินโดยธรรมดา
อปิ นุ โข ดังอาตมาขอถาม ขอถวายพระพิตรพระราชสมภาร จงมีพระราชโองการบอกให้
แจ้งก่อน หรือว่าไม้ค้อนท่อนไม้และก้อนดินอันบุคคลโยนไป จะไม่ตกลงเหนือแผ่นดินด้วยเหตุ
อันใดอันหนึ่งเล่า
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงพระราชโองการตรัสว่า ธรรมดาบุคคลโยนไปซึ่งท่อนไม้
และไม้ค้อนก้อนดินนั้น ย่อมจะตกลงที่ภูมิภาคพื้นแผ่นดิน จะได้ตั้งอยู่บนอากาศหามิได้ อากาศ
เปล่าจะทรงจะรับเอาไม้ค้อนก้อนดินไว้ใช่เหตุใช่ผล

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ความเปรียบประการนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด อันว่าธรรมาภิสมัยมรรคผลจะมีแก่บุคคลที่มี
ศีลวิบัติหามิได้ใช่เหตุผล เปรียบเหมือนไม้ค้อนก้อนดิน อันบุคคลโยมไปมิได้ค้างอยู่บนอากาศ
ด้วยอันหาเหตุมิได้ บุคคลผู้ใดเป็นปาราชิกถึงศีลเภทแล้วก็เป็นเหตุสมุจฉินนะ คือตัดเสียซึ่ง
เหตุอันจะบรรลุแก่ธรรมาภิสมัย คือมิได้สำเร็จมรรคผลเป็นอันขาด มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ถเล อคฺคิ ชลติ ธรรมดาว่าไฟบุคคลกองไว้บนบกย่อม
รุ่งเรือง หรือหาไม่ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้า เออกระนั้นแหละ ธรรมดาว่ากองไฟในถลประเทศที่บกแล้ว ก็ย่อมจะรุ่งโรจน์โชตนาการ
พระนาคเสนจึงซักถามว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร แม้นว่าบุคคลกองไฟที่
อุทกัง จะรุ่งโรจน์โชตนาการ หรือว่าจะดับไป นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้า บุคคลใดกองไฟที่ในน้ำ เพลิงก็ดับไป จะรุ่งโรจน์โชตนาการหามิได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร ยถา ความข้อนี้
มีครุวนาฉันใด ธรรมาภิสมัยมรรคผลก็ได้บังเกิดแก่บุคคลเป็นปาราชิกศีลเภท เป็นเหตุสมุจ-
ฉินนะหาเหตุมิได้ อุปไมยเหมือนกองเพลิงบนหลังอุทกประเทศ หาเหตุหาธรรมดา หาเยี่ยงหา
อย่างธรรมเนียมมิได้ฉะนั้น
ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ผู้เป็นเจ้าจงคิดแก้ปัญหานี้ น เม ตตฺถ จิตฺตสญฺญี เหมือนหนึ่ง
ว่าโยมนี้มิได้มีสัญญารู้ว่าตัวเป็นปาราชิก ก็มิได้ทรงวิมัติสงสัยตัวเลยว่าเป็นศีลวิบัติ บาปกรรม
จะกันไว้กระไรจึงจะไม่สำเร็จแก่ธรรมาภิสมัยมรรคผล นิมนต์ผู้เป็นเจ้าชักนำเอาเหตุนั้น มาวิสัช-
นาแก้ให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชาสมภารผู้
ประเสริฐ วิสํ หลาหลํ อันว่ายาพิษกินตาย คนทั้งหลายไม่รู้ว่าเป็นยาพิษ พากันรับประทาน
ยาพิษเข้า คนทั้งหลายจะตายหรือว่าหามิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการรับคำพระนาคเสนว่า อาม ภนฺเต
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เออก็อย่างนั้นแหละซิ ยาพิษนี้ คนจะรู้ก็ดี กินเข้าไปแล้วก็ตายทั้งนั้น

พระนาคเสนถวายพระพรว่า ยถา มีครุวนาฉันใด บุคคลไม่รู้ว่าบาปกรรมที่กระทำ จะ
เป็นอภิสมยันตรายทำให้ฉิบหายจากมรรคผล บาปกรรมนั้นก็ย่อมกันที่ทางอภิสมัยมรรคผลไม่
ให้บุคคลบรรลุได้ เอวเมว โข เหมือนยาพิษอันร้ายกาจ ถึงจะไม่รู้ถ้ากินแล้วก็คงจะสิ้นชีวิต
ฉะนั้น อปิ อนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ อชานฺนตํ
อาสีวิโส เปรียบดุจทีฆชาติอสรพิษร้ายนขบตอดบุรุษผู้หนึ่งเข้า บุรุษผู้นั้นก็ไม่รู้ว่าอสรพิษ บุรุษ
นั้นจะสิ้นชีวิตตายด้วยอสรพิษนั้นขบตอดหรือไม่ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า อาม ภนฺเต พระ
เจ้าข้า ย่อมเป็นกระนั้นผู้เป็นเจ้า บุรุษชายอันอสรพิษขบตอดนั้น ถึงไม่รู้ว่าอสรพิษขบตอดก็
คงต้องตาย พระนาคเสนถวายพระพรอุปไมยว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ความอุปมาประการนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด บุคคลไม่รู้ว่าบาปกรรมที่กระทำนั้นจะเป็นอันตราย
แก่มรรคผล บุคคลผู้นั้นกระทำเข้าเมื่อใด ก็จะกันไว้ไม่ให้ได้มรรคผลเมื่อนั้น เปรียบเหมือน
บุคคลที่อสรพิษขบ แม้ไม่รู้ว่าอสรพิษก็คงจะดับจิตสิ้นชีวิตนั้น มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรพระราชสมภาร จะไม่ได้สวนาการบ้างหรือ เหมือนหนึ่งว่าพระเจ้ากาลิงคราชบรมจักร
นั้น สตฺตรตนปริกฺกิณฺโณ บริบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 ประการ อยู่มา ณ กาลวันหนึ่ง ทรงพระดำริจะ
เสด็จไปเยี่ยงตระกูลญาติโดยอากาศวิถี สมเด็จพระบรมกษัตราธิบดีก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่ง
บรมหัตถีรัตน์ตัวประเสริฐ แล้วก็ขี่มาโดยนภาลัยประเทศอากาศแต่พระองค์เดียวโสด
มาตรงพระมหาโพธิเข้า บรมจักรนั้นก็ไม่สำคัญไม่ทันรู้ว่าพระมหาโพธิอยู่ตรงนั้น ก็มิอาจ
ขี่มงคลหัตถีย์รัตน์เหาะข้ามพระมหาโพธิได้ ด้วยอานุภาพพระมหาโพธิไม้สมเด็จพระสัพพัญญู
เจ้าตรัส ยถา มีครุวนาฉันใด อันว่าอภิสมัยมรรคผล ถึงบุคคลจะไม่รู้ว่าบาปกรรมนั้นเป็น
อันตรายแก่มรรคผล บุคคลผู้นั้นก็ย่อมจะไม่ได้สำเร็จแก่ธรรมาภิสมัยมรรคผล เหมือนพระยา
กาลิงคราชบรมจักรไม่รู้ที่สำนักพระมหาโพธิ มิอาจข้ามพระมหาโพธิไปได้ฉะนั้น
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงพระสวนาการพระนาคเสนผู้ปรีชา
ญาณวิสัชนา ก็สิ้นสุดพระวิมัติกังขา จึงตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน อรรถ-
ปัญหานี้พระธรรมกถึกอื่นมิอาจแก้ไขได้ สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับประทานจำไว้ ณ กาลบัดนี้
ตามนัยที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาแล้วถี่ถ้วนทุกประการ
อภิสมยันตรายกราปัญหา คำรบ 3 จบเพียงนี้

สมณทุสสีลคีหิทุสสีลปัญหา ที่ 4


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามปัญหาอื่นว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ คฤหัสถ์ทุศีลกับสมณะทุศีลนั้น โกจิ วิเสโส
ข้างไหนจะดีกว่ากัน ตกว่าสมณะทุศีลคฤหัสถ์ทุศีล 2 จำพวกนั้น จะมีคติมีผลเสมอกันหรือ
ว่าจะต่างกัน
พระนาคเสนผู้ประกอบไปด้วยปัญญาจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ คฤหัสถ์ทุศีลนั้นจะเหมือนสมณะทุศีลหามิได้ อันสมณะทุศีลมีคุณ 10
ประการ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าคุณ 10 ประการแห่งสมณะ
ทุศีลนั้น กตเม เป็นดังฤๅ อันว่าคุณแห่งสมณะทุศีล 10 ประการนั้น พุทฺเธ สคารโว คือ
สมณะทุศีลนั้นเคารพในพระพุทธเจ้าประการ 1 ธมฺเม สคารโว คือสมณะทุศีลนั้นเคารพใน
พระธรรมประการ 1 สงฺเฆ สคารโว คือสมณะทุศีลนั้นเคารพในพระสงฆ์ประการ 1 สพฺรหฺม-
จารีสุ สคารโว
คือสมณะทุศีลนั้นเคารพเพื่อนพรหมจารีประการ 1 อุทฺเทสปริปุจฺฉาย วายมติ
คือสมณะทุศีลนั้นเพียรที่จะบอกกล่าวเล่าเรียนพระบาลีและอรรถกถาประการ 1 สวนพหุโล
คือสมณะทุศีลนั้นมากในการฟังธรรมประการ 1 ภินฺนสีโลปิ สมณะทุศีลนั้นตัวสิ เป็นศีลเภท
แล้ว แม้จะมาสู่สำนักบริษัท ย่อมตั้งไว้ซึ่งอากัปกิริยาเหมือนมีศีลบริสุทธิ์ สำรวมกาย วาจามิให้
มีครหาเกิดขึ้นได้ประการ 1 ปธานาภิมุขํ สมณะทุศีลนั้นตั้งไว้ซึ่งจิตเป็นประธานประการ 1
สามญฺญํ อุปคโต สมณะทุศีลนั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสมณเพศประการ 1 ปาปํ ปฏิจฺฉนฺน อาจรติ
สมณะทุศีลนั้น แม้จะกระทำความชั่ว ก็ย่อมกระทำในที่ลับประดุจสตรีผู้มีสามี แอบสามีประ
พฤติความชั่วฉะนั้นประการ 1 สมณะทุศีลดีกว่าคฤหัสถ์ที่ทุศีลด้วยคุณ 10 ประการดังวิสัชนา
มาฉะนี้ ใช่แต่เท่านั้น สมณะทุศีลดีกว่าคฤหัสถ์ที่ทุศีล ด้วยจะให้สำเร็จผลแห่งทักษิณาทานอันยิ่ง
ของทายกได้ด้วยเหตุ 10 ประการ อวชฺชปธารณตาย คือสมณะทุศีลให้สำเร็จทักษิณาทานของ
ทายกได้ ้ด้วยเพศสมณะอันหาได้โทษมิได้ อันตนทรงไว้ให้ทายกเลื่อมใส ประการ 1 สมณะทุศีล
ยังทักษิณาทานของทายกให้มีผล ด้วยเหตุทรงเพศสมณะของท่านที่แสวงหาคุณธรรม เป็นไม้
เท้าที่ยึดหน่วงจับต้องแห่งทายกทั้งหลายประการ 1 สมณะทุศีลยังทักษิณาทานของทายก
ให้สำเร็จผล ด้วยภาวะคือตนปฏิบัติตามลัทธิของพระสงฆ์ คือ การที่จะกระทำวัตรปฏิบัติน้อย
ใหญ่ เคยกระทำฉันใดก็กระทำฉันนั้นประการ 1 สมณะทุศีลย่อมยังทักษิณาทานของทายก
ให้สำเร็จผล ด้วยภาวะที่ตนยังถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งประการ 1 สมณะทุศีลยัง
ทักษิณาทานของทายกให้สำเร็จผล ด้วยภาวะถืออนิเกตวาสี คือไม่สถิตอยู่ติดถิ่น มิได้มี
ความห่วงใยในที่อยู่ อาศัยอนิเกตวาสีนี้เป็นประธารประการ 1 สมณะทุศีล ยังทักษิณาทาน